วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

วิธีการจัดการเรียนรู้โดยการใช้เกม


วิธีการจัดการเรียนรู้โดยการใช้เกม 
วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน พบวิธีการสอนมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน ซึ่งในที่นี้ จะนำเสนอวิธีสอนโดยการใช้เกม  (Game)
ทิศนา แขมมณี (2552,หน้า 365-369) ได้ให้ความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยการใช้เกม  (Game)   สรุปได้ดังนี้
วิธีสอนโดยใช้เกม คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้
ขั้นตอนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการสอน
-ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
-ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
-ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน
-ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดนใช้เกมให้มีประสิทธิภาพ
1.การเลือกและนำเสนอเกม  เกมการศึกษา เป็นเกมที่มีวัตถุประสงค์ มุ่งให้ผู้เล่นเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มิใช่เล่นเพียงเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้สอนอาจนำเกมที่เล่นเพื่อความบันเทิงเป็นสำคัญ มาใช้ในการสอน โดยนำมาเพิ่มขั้นตอนสำคัญคือ การวิเคราะห์อภิปรายเพื่อการเรียนรู้ เกมที่ได้รับการออกแบบให้เป็นเกมการศึกษา มี 3 ประเภท ประกอบด้วย
เกมแบบไม่มีการแข่งขัน เช่น เกมการสื่อสาร เกมการตอบคำถาม เป็นต้น
เกมแบบแข่งขัน มี ผู้แพ้ ผู้ชนะ เกมส่วนใหญ่จะเป็นเกมแบบนี้ เพราะการแข่งขันช่วยให้การเล่นเพิ่มความสนุกสนานมากขึ้น
เกมจำลองสถานการณ์ เป็นเกมที่จำลองความเป็นจริง สถานการณ์จริง ซึ่งผู้เล่นจะต้องคิด ตัดสินใจจากข้อมูลที่มีและได้รับผลของการตัดสินในเหมือนกับที่ควรจะได้รับความเป็นจริง
2.การชี้แจงวิธีการเล่นและกติกาการเล่น กติกาการเล่น เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเล่นเกม เพราะกติกานี้จะตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการเล่นให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้สอนควรศึกษากติกาการเล่นและวิเคราะห์ กติกาว่า กติกาแต่ละข้อมีขึ้นด้วยวัตถุประสงค์อะไรและควรดูแลให้ผู้เล่นปฏิบัติตามกติกาของการเล่นอย่างเคร่งครัด
3.การเกม การเล่นเกมควรให้เป็นไปตามขั้นตอน และในบางกรณีต้องควบคุมเวลาในการเล่นด้วย ในขณะที่ผู้เรียนกำลังเล่นเกม ผู้สอนควรติดตามพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด และควรบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ เพื่อนำไปใช้ในการอภิปรายหลังการเล่น หากเป็นไปได้ผู้สอนควรมอบหมายผู้เรียนบางคนให้ทำหน้าที่สังเกณฑ์การเล่นและควบคุมกติกาการเล่นด้วย
4.การอภิปรายหลังการเล่น การอภิปราย ควรมุ่งประเด็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสอนนั้นๆ กล่าวคือ ถ้าการใช้เกมนั้นมุ่งเพียงเป็นเครื่องมือฝึกทักษะให้ผู้เรียน การอภิปรายก็ควรมุ่งไปที่ทักษะนั้นๆ ว่าผู้เรียนได้พัฒนาทักษะนั้นเพียงใด ประสบความสำเร็จตามต้องการหรือไม่ และจะมีวิธีใดที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น หรือ หากมุ่งเนื้อหาสาระจากเกม ก็ควรอภิปรายในประเด็นที่ว่าผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระอะไรจากเกมบ้าง รู้ได้อย่างไร ด้วยวิธีใด มีความเข้าใจเนื้อหาสาระนั้นอย่างไร ได้ความเข้าใจนั้นมาจากการเล่นเกมตรวส่วนใด เป็นต้น


ตัวอย่างแผนการสอนแบบเกม

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5              ภาคเรียนที่ 1
เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีหลายหลัก                                         เวลา 3 ชั่วโมง
1    1. สาระสำคัญ
การบวกเป็นการรวมจำนวนสิ่งต่างๆ ตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป จำนวนใดบวกกับศูนย์ ได้ผลลัพธ์ เท่ากับจำนวนนั้น การหาผลบวกของจำนวนตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป ให้นำจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน มาบวกกัน ถ้าผลบวกของจำนวนในหลักใดครบสิบไปรวมกับจำนวนที่อยู่ หลักถัดไปทางซ้าย การลบเป็นการนําจํานวนหนึ่ง ออกจากอีกจํานวนหนึ่งแล้วหาจํานวนที่เหลือ หรือเป็นการเปรียบเทียบจํานวนสองจำนวนว่าต่างกัน เท่าใด

2. ตัวชี้วัดชั้นปี
 ค 1.2 ป. 5/1, 1.2 ป. 5/3, 4.1 ป. 5/1, 6.1 ป. 5/1, 6.1 ป. 5/3, 6.1 ป. 5/4, 6.1 ป. 5/5, 6.1 ป.5/6

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของ การบวก ได้(K)
2. สนใจเรียน เต็มใจทำงานและเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข(A)
          3. เมื่อกำหนดโจทย์การบวกจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวนให้ สามารถหาคำตอบได้
4. เมื่อกำหนดโจทย์การลบจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวนให้ สามารถหาคำตอบได้(P)

4. การวัดและการประเมินผลการเรียน
ด้านความรู้ (K)
วิธีการวัดผลและการประเมินผล
เครื่องมือการวัด
เกณฑ์การวัด
1. สังเกตจากการซักถาม การแสดงความคิดเห็น การให้ข้อเสนอแนะ   และการอภิปรายร่วมกัน
-แบบบันทึกผลการอภิปราย
-แบบบันทึกความรู้
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 2 ขึ้นไป
2. ตรวจผลการปฏิบัติตามใบงาน ที่ 2.1 การบวกและการลบ

-ใบงานที่ 2.1 การบวกและการคูณ
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 2 ขึ้นไป
3. ตรวจผลการทำแบบทดสอบวัดความรู้ประจําหน่วย
-แบบทดสอบวัดความรู้ประจำหน่ว
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 75% ขึ้นไป
4. การทาํแบบทดสอบหลงัเรียน
-แบบทดสอบหลังเรียน
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 50% ขึ้นไป

ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม (A)
วิธีการวัดผลและการประเมินผล
เครื่องมือการวัด
เกณฑ์การวัด
1.สังเกตพฤติกรรมขณะทำงานร่วมกัน
- แบบประเมินด้านคุณธรรม และค่านิยม  
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
2. ประเมินพฤติกรรมตามรายการ         ประเมินด้านคุณธรรม    จริยธรรม และค่านิยม    
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป

ด้านทักษะ / กระบวนการ (P)
วิธีการวัดผลและการประเมินผล
เครื่องมือการวัด
เกณฑ์การวัด
1. สังเกตพฤติกรรมการสื่อสาร    การเชื่อมโยงหลักการความรู้     ทางคณิตศาสตร์
-แบบประเมินด้านทักษะ/   กระบวนการ
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
2. ประเมินพฤติกรรมตามรายการ    ประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
3. ประเมินแฟ้มสะสมผลงาน

- แบบบันทึกความคิดเห็น   เกี่ยวกับการประเมินชิ้นงานใน   แฟ้มสะสมผลงาน
- แบบประเมินแฟ้มสะสมผลงาน
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
4. สังเกตขณะปฏิบัติตามใบงานที่
2.1  การบวกและการลบ
- ใบงานที่ 2.1  การบวกและการลบ
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป

5. สาระการเรียนรู้
1. การบวก การคูณ
2. การบวก ลบ คูณ หารระคน
6.กระบวนการจัดการเรียนรู
ขั้นที่1 นำเข้าสู่บทเรียน (สื่อการเรียนรู้ : iPad App Sudokuเกม Sudoku)
1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการบวก การบวกเป็นการนับรวมจำนวนสิ่งต่างๆ ตั้งแต่สองกลุ่ม
ขึ้นไปโดยให้นักเรียนกลุ่มรวมกลุ่มกัน  จากนั้นครูแจกแผ่นเกมแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1) มา
รวมกลุ่มกัน จากนั้นครูแจกแผ่นเกม
2. ครูให้กลุ่มที่ทำเสร็จก่อนออกมาเฉลยคำตอบ ครูและนักเรียนที่เหลือช่วยกัน ตรวจสอบความถูก
ต้อง
          ขั้นที่2 ขั้นสอน
1. ครูนำอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการหาผลบวกจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวนแสดงการบวกในแนวตั้งดังนี้
3  8
 +
2  7     
6  5
ดังนั้น 38 + 27 = 65






2. ครูยกตัวอย่างโจทย์การบวกจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวนพร้อมทั้งอธิบายวิธีคิดหาผลลัพธ์ไปที่
แต่ละหลักจนได้ผลลัพธ์ของโจทย์
 หลักร้อย   หลักสิบ   หลักหน่วย
                1           8            9
                                                    +
                             9           8
                2           8            7
4. ให้นักเรียนศึกษาเรื่องการบวกและการลบ จากสื่อ iPad App AB Mathg เพื่อฝึกทักษะการคิดคํานวณ
5. ให้นักเรียนกลุ่มเดิมช่วยกันทำ ใบงานที่ 2.1เรื่อง การบวกและการลบ เสร็จส่งให้ครูตรวจ
ขั้นที่5 สรุปความคิดรวบยอด
          ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับการบวกและการลบจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวน
( สรุป การหาผลบวกของจำนวนตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป ให้นำจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน มาบวกกัน ถ้า
ผลบวกของจำนวนในหลักใดครบสิบให้ทดจำนวนที่ครบสิบไปรวมกับจำนวนที่อยู่ถัดไปทางซ้ายมือ)
(สรุป การหาผลลบของจํานวนสองจํานวนที่อยู่ หลักเดียวกันของตัวตั้งลบด้วยจำนวนของตัวลบ ถ้าจำนวน
ในหลักใดของตัวัต้งันอ้ยกวา่ จาํนวนในหลกัน้นัของตวัลบตอ้งกระจายตวัต้งัจากหลกัที่อยถู่ ดัไปทางซา้ยมา
รวมกบัจาํนวนในหลกัน้น

7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1) หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ป.5
2) เอกสารประกอบการสอน
3) ใบงานที่ 2.1 เรื่อง การบวกและการลบ
4) iPad

8. บันทึกหลักการสอน
1. ผลการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2.ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...............................................................................………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..….............................................................................
แนวทางแก้ไขปัญหา
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……..............................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...................................................................................
ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                                                                                                       ลงชื่อ………………………………………………  
                                                                  (                                                                  )
                                                                         ตำแหน่ง……………………………………………



ที่มา
ทิศนา แขมมณี (2552).  ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://school3.rmutp.ac.th. [ออนไลน์]  สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น